เมาส์

พุยพุย

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใบงานที่3 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560



พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์2560”

Related image

   พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2
   สำหรับคนที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือทำงานเกี่ยวกับโลกออกไลน์ต้องพึงรู้ไว้เลยเพราะหากใช้ไม่ระวัง เราอาจจะเผลอทำผิดกฎหมายได้ วันนี้เราเลยมาฟื้นความจำอีกครั้ง มาดูกันสักหน่อยว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร และมีเรื่องอะไรที่ชาวเน็ตอย่างเราไม่ควรทำ รู้เอาไว้ เราจะได้ไม่ทำผิด

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าค่ะว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่กำลังจะพูดถึงนี้คืออะไร
 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้
  ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
  เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้

8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เรามาดูกันต่อกันค่ะว่า แล้วข้อห้ามสำคัญ ที่ชาวเน็ต หรือคนทำงานออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง
          1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
Image result for เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)


   หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

บทลงโทษ

  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



          2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิด


บทลงโทษ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



          3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

Image result for จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)



    ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่นแล้วส่งอีเมลขายของตัวเอง

บทลงโทษ

ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)

โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดเพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ
  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

          5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)

  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย



          4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)

โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ
  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

          6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)


  ความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

  • โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
  • โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
  • เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )

บทลงโทษ

หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

           7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)


กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด
บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ

           8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)

ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
บทลงโทษ
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท


สรุป


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยอีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย



เปรียบเทียบพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550กับ2560



                                                                                                                                                                   




Image result for เปรียบเทียบ พรบ คอมพิวเตอร์ 2550 กับ 2560 สรุป
credit :: 13ข้อควรรู้




Image result for พรบ.คอมพิวเตอร์2560
credit :: รู้จักพ.ร.บ.คอมฯ ฉบับที่2 



กรณีศึกษา

อุทาหรณ์! 'โจ๊ก IScream’ ขอโทษสังคมออนไลน์ หลังโพสต์ภาพตัดต่อถูกรางวัลที่ 1



วิเคราะห์

          เจ้าหน้าที่ปอท.ได้แจ้งข้อหานายอรรถวุฒิ อินทองหรือโจ๊ค IScreamได้โพสต์ภาพถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ทั้งหมด 10ใบ มูลค่า30ล้านบาทส่งผลให้เกิดการถูกแชร์ออกไปจำนวนมากทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน ถือเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันข้อมูลอันเป็นเท็จจริง แต่ในกรณีของนายอรรถวุฒิไม่มีผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำที่สร้างความแตกตื่นให้แก่ประชาชน


พฤติกรรมการทำผิด

            นายอรรถวุฒิ อินทอง หรือ โจ๊ก IScream โพสต์ภาพถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ทั้งหมด 10 ใบ มูลค่ารวม 30 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดกระแสฮือฮาทั่วสังคมออนไลน์ และถูกแชร์ออกไปจำนวนมากโดยที่ชาวเน็ตส่วนใหญ่ต่างเข้ามาอ้างว่าเป็นคนรู้จักกันเนื่องจากเข้าใจว่าถูกสลากฯ ชุดใหญ่จริง


วิธีป้องกัน

            ไม่ควรตัดต่อรูปที่เกินความเป็นจริงและเผยแพร่สู่ต่อสาธารณะชนที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนขึ้นได้


การกระทำผิดและบทลงโทษ

มีความผิดตาม  มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์

อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

           (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
           (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
           (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)


บทลงโทษ



        ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ้างอิง

             ไทยรัฐออนไลน.อุทาหรณ์! 'โจ๊ก IScream’ ขอโทษสังคมออนไลน์ หลังโพสต์ภาพตัดต่อถูกรางวัลที่ 1.









credit :: https://youtu.be/Ie0YHG2rjMQ


credit :: https://youtu.be/LwMSsneKuzc

credit :: https://youtu.be/0RGa8qgsb3c







พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์2560 (ฉบับเต็ม)



วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใบงานที่ 2 ความรู้เรื่องบล็อก




ABOUT BLOG

credit :: BLOG


           บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน

       คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) 
ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเองโดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger) 

  จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก




  
» Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง? «

- ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่
- เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
- สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
- ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing



» Blog กับ Website ต่างกันอย่างไร«

      - เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server , มี Host มี Domain Name
 เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย

          แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Googl คือ  Blogger.com 
          - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย "blogspot.com" เช่น JoJho-Problog.blogspot.com

       - เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด 
(ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)
          แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
       - การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์ , โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น 
        แต่ Blog เพียงรู้หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย



 » Blog กับ เว็บไซด์สำเร็จรูป ต่างกันอย่างไร? «

     - Blog และ เว็บไซด์สำเร็จรูป (Instant Website) เป็นเว็บไซด์ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ที่เรียกว่า เว็บไซด์ในรูปแบบ CMS  (Content Management System) คือ
จะเน้นในการจัดการเนื้อหาและบทความเป็นหลัก ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมเลย ก็สามารถ สร้างBlog ขึ้นได้โดยวิธีการเข้าใจได้ไม่ยาก

     - เว็บไซด์สำเร็จรูป มีทั้งแบบ เราสร้างเว็บเอง หรือ ไปขอใช้บริการแบบที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว ซึ่งในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงแต่ เว็บไซด์สำเร็จที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว เพราะจะใกล้เคียงกับบริการของ Blog

     - เว็บไซด์สำเร็จรูปที่นิยมจะเป็นในรูปแบบเปิดร้านค้าออนไลน์ (Online Shopping, Instant Online Store) ซึ่งจะมีระบบที่สนับสนุนกับการทำ E-Commerce รองรับในตัว เช่น ตะกร้าสินค้า, เว็บบอร์ด ในขณะที่ Blog จะไม่มี

     - ดังนั้นในการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้น เว็บไซด์สำเร็จรูปจะเหมาะสำหรับ ร้านที่มีสินค้าขายเป็น ชิ้นๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรในระดับหนึ่ง ในขณะที่ Blog จะเหมาะสำหรับร้านที่มีสินค้าตั้งขายจำนวนน้อย 

      - Blog จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นให้บริการเป็นหลัก หรือธุรกิจแบบมีร้านค้าจริงๆ เพื่อแนะนำร้านสถานที่ตั้งร้าน นำเสนอและโปรโมทสินค้าบริการต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่เว็บไซด์สำเร็จรูปแบบร้านค้าออนไลน์นั้นจะเหมาะสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ (Products) ต่างๆมากกว่า Blog


  » ข้อดีและข้อเสียของ Blog : 


ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้
- ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก

ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)

          การเลือก ทำBlog ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกวิธีหนึ่ง ในการนำเสนอ หรือ โปรโมท สินค้าและบริการต่างๆ  ซึ่งปัจจุบัน วงการ Blog นั้นได้พัฒนาขึ้นมาก ทั้งลูกเล่นและฟังก์ชั่น การออกแบบดีไซน์ มีรูปแบบ Template สวยๆให้เลือกใช้มากมาย ครอบคลุมในสิ่งจำเป็นหลักๆได้ทั้งหมด และหากท่านมีความรู้ในเรื่องของ ภาษา HTML และ CSS ด้วยแล้วนั้น 
การสร้างBlog ในระดับคุณภาพดีๆ สัก Blog ขึ้นมา อาจจะเทียบได้กับการสร้างเว็บไซด์แบบปกติ หรือเว็บไซด์สำเร็จรูปดีดี สักเว็บได้เลยทีเดียว (หรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำไป)

       และอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆท่านอาจจะคาดไม่ถึง คือ เรื่องของ การทำ SEO ให้เว็บไซด์ติดอันดับต้นๆของ  Google ในการค้นหา สำหรับ Blogger (หรือ Blogspot.com) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของ Google เอง มันจะแรงและเร็วมากในการทำอันดับ หากท่านรู้วิธีการ เทคนิค และหลักในการทำอย่างถูกต้องเหมาะสม



» ความเป็นมาของบล็อก «

      ในความเป็นจริงแล้วบล็อกมีมาในช่วงยุคต้น ๆ ของการมีเว็บไซต์เลยทีเดียว(ช่วงประมาณปี ค.ศ.1992) โดยบล็อกมีต้นตระกูลมาจากเว็บประเภทหนึ่งที่เรียกว่า What’s New ซึ่งในยุคแรกขณะนั้นยังมีเว็บไซต์จำนวนไม่มากนักเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ภาคพื้นยุโรป (CERN) ได้เป็นผู้เริ่มสร้างเว็บสำหรับนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวงการเว็บ รวมถึงแจ้งข่าวสารเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ โดยทำในลักษณะเป็นลิงค์ชี้ไปยังเว็บไซต์นั้น ๆ และมีคำอธิบายว่ามันคืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง จากนั้นก็มีผู้ทำ What’s New ในลักษณะต่าง ๆ มากมาย

     จนถึงปี ค.ศ.1997 นายจอร์น บาร์เกอร์ (Jorn Barger) เจ้าของเว็บไซต์ http://www.robotwisdom.com/ ซึ่งเป็นเว็บที่มีลักษณะเป็น บล็อก อาจกล่าวได้ว่าเป็นบล็อกรุ่นแรกๆ ก็ได้คิดคำว่า weblog ขึ้นมา

     ต่อมาในปี ค.ศ.1999 ปีเตอร์ เมอร์โฮลซ์ (Peter Merholz) เจ้าของ http://www.peterme.com/ ประกาศว่า
ต่อไปเขาจะอ่านคำว่า weblog ว่า “วี - บล็อก” และจะเรียกสั้น ๆ ว่า blog “บล็อก” เนื่องจากในยุคสมัยนั้นยังมีคนใช้บล็อกจำนวนไม่มากนัก และความคิดนี้ ถือเป็นความคิดที่แปลกใหม่น่าสนใจ นับตั้งแต่นั้นมา คำว่าบล็อก จึงกลายเป็นคำที่ได้รับความนิยมไปทั่ว และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่า weblog นั้นดูจะเป็นภาษาทางการมากกว่าคำว่า blog แต่ก็ยังมีผู้เรียกขาน weblog อยู่เช่นกัน

     ใน ปี ค.ศ.1999 เริ่มมีบริการช่วยสร้างบล็อกฟรี ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ได้แก่ www.blogger.com  และ www.pitas.com ทั้งสองเว็บไซต์เปิดให้บริการแก่สมาชิก ซึ่งจะให้เครื่องมือในการสร้างบล็อก โดยจะใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ หากใครที่มีพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์อยู่แล้ว ก็สามารถสร้างบล็อกแล้วนำบล็อกไปเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์ของตนเองได้เลย หรือถ้าไม่มีพื้นที่เก็บเว็บไซต์ ก็สามารถฝากบล็อกไว้กับผู้ให้บริการได้อีกด้วย เมื่อมีเครื่องมือลักษณะนี้มาให้บริการ ทำให้การสร้างบล็อกเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ผู้สร้างบล็อกเพียงแค่ใส่ข้อมูลอย่างเดียวและไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการสร้างเว็บก็ได้ เลยทำให้วงการบล็อกเป็นที่สนใจ และทำให้มีบล็อกใหม่ ๆ เนื้อหาที่หลากหลายเกิดขึ้นมากมาย

     โดยปกติการสร้างบล็อก สามารถสร้างได้ง่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของผู้ให้บริการสร้าง Blog ฟรี ซึ่งจะมีเครื่องมือสนับสนุนให้ผู้สร้างเนื้อหาสามารถสร้างสรรค์งานเขียนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบันมีที่นิยมหลายแห่ง อาทิ http://www.blogger.com, http://www.wordpress.com, เป็นต้น
    สำหรับบ้านเราก็นิยมสร้างบล็อกเป็นเครื่องมือช่วยในการประกอบธุรกิจ การค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนความรู้ออนไลน์ การใช้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร อาทิ http://bloggang.com  http://www.oknation.net/blog/index.php และ http://gotoknow.org


 » ลักษณะสำคัญของบล็อก «

  1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน
  2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
  3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวันเวลา (archive) หรือค้นหาจากคำสำคัญ (tag) ได้
  4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
  5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆ อาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ, วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
  6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆ และเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ


   » การสร้าง Blogger อย่างง่าย «


ขั้นตอนที่ 1

     เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูป

   
ขั้นตอนที่ 2

     จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย


ขั้นตอนที่ 3


     ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4


     คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่ตามรูป




ขั้นตอนที่ 5

     พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูป จากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไปเลือกแม่แบบตามใจชอบได้เลย


ขั้นตอนที่ 6


    คลิกปุ่มตามรูปเลย


ขั้นตอนที่ 7


    ใส่ข้อมูลต่างๆเลย


ขั้นตอนที่ 8


     คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึกได้เลย


   » วิธีการ เปลี่ยนเทมเพลต «

      สำหรับคนที่ไม่พอใจ ในเทมเพลตแรกเริ่มที่เลือกมาแล้วอยากเปลี่ยนเทมเพลตสามารถทำได้ดังนี้
1. ให้เราคลิกที่ "แม่แบบ" แล้วเลื่อนลงมาข้างล่าง
2. สามารถเลือกเทมเพลตได้จากข้างล่างนี้
3. หากต้องเจอเทมเพลตที่ต้องการแล้ว ให้ชี้ที่เทมเพลตนั้นๆ แล้วจะมีป๊อบอัพเด้ง
ขึ้นมาให้ดูหน้าตาเทมเพลตของเรา ถ้าต้องการเทมเพลตนี้ กด
"ใช้กับบล็อก"
4. รอจนกว่าจะมีคำเล็กๆ ขึ้นว่า "ใช้กับบล็อกแล้ว"
5. เราสามารถดูเทมเพลตของเราได้โดยการกด "ดูบล็อก"
6. เราจะได้เทมเพลตใหม่ของบล็อกเราตามที่เราต้องการ เป็นอันเสร็จสิ้นการเปลี่ยนเทมเพลต

 » วิธีการ ตกแต่งเทมเพลต «

หลายๆคนอาจจะยังไม่พอใจกับ เทมเพลตที่เรามีอยู่อยากทำให้ดูดีกว่าเดิม เราสามารถทำได้  ดังนี้
1. ไปที่ "แม่แบบ" แล้วกด "กำหนดค่า"
2. จะเจอหน้าแบบนี้ สามารถปรับเปลี่ยน Blog ของเราได้ มากมา
3. อย่างแรก เทมเพลต เราสามารถเลือกเทมเพลตได้จากในกรอบแล้วดูตัวอย่างที่ด้านล่าง
4. พื้นหลัง ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนสีพื้นหลังของเรา ว่าอยากได้สีอะไร
5. ปรับความกว้าง เราสามารถปรับเปลี่ยนระยะขอบความกว้างได้โดยการเลื่อน แล้วดูความเปลี่ยนแปลงจากด้านล่าง
6. รูปแบบ ในส่วนนี้เราสามารถเคลื่อนย้ายจัดตำแหน่ง สิ่งที่อยู่ใน Blog ของเราได้
7. ขั้นสูง ใช้เปลี่ยนสี เปลี่ยนFont ฯลฯ ในส่วนต่างๆ ของBlog
8. เมื่อเราได้ตามที่เราต้องการแล้วให้กด "ใช้กับบล็อก"
9. รอจนกว่าจะขึ้น ใช้แม่แบบแล้ว จึงกด "กลับสู่ Blogger"

  » วิธีการ เพิ่มของตกแต่งในบล็อก «

1. ไปที่ "รูปแบบ"
2. หาของตกแต่งจาก เว็บต่างๆ แล้วCopy Code
3. กลับมาที่หน้ารูปแบบ กด "เพิ่ม Gadget" คลิก "HTML/วาจาสคริปต์"
4. ใส่ Code ที่ Copy มา ตรงช่อง "เนื้อหา" แล้วกด "ยืนยัน"
5. กด "บันทึกการจัดเรียง" รอจนขึ้น "การเปลี่ยนแปลงของคุณถูกบันทึกแล้ว" กด "ดูบล็อก"
6. จะพบกับของตกแต่งที่เราใส่ให้ Blog ของเราใส่ส่วนนั้นๆ เป็นอันเสร็จสิ้น


เครดิตข้อมูล :



วิดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างบล็อก

⤈⤈
















กิจกรรมที่ 3 ประเภทและขั้นตอนของโครงงานคอมพิวเตอร์

กิจกรรมที่ 3 ประเภทและขั้นตอนของโครงงานคอมพิวเตอร์ from RESET2 นางสาวณัฐณิชา พันธ์เดช เลขที่ 31 ม.6/11 นางสาวภัณฑิรา ทวีพรก...